Hetalia: Axis Powers - Norway

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มารยาทชาวพุทธ

 มารยาทชาวพุทธ
สาระสำคัญ
   มารยาทชาวพุทธ  เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน  ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา  ที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย  แม้จะไม่สำคัญเท่าหลักธรรมคำสอนโดยตรง  แต่ก็มีส่วนในการสร้างความรัก  ความสามัคคี  อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทย  ที่คนไท            อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มารยาทชาวพุทธ

อริยสัจ

อริยสัจ
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
    Dharmacakra flag (Thailand).svg
  1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
  2. สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปร อ่านเพิ่มเติ

ศาสนาฮินดู

ศาสนาฮินดู
ศาสนาฮินดู (อังกฤษHinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน[1] [2]
ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็ อ่านเพิ่มเติม
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม (อังกฤษIslam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด(ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632) ซึ่งสาวกมองว่าเป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม
มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า[1][2] มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู[3] พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาล[4] แต่มองว่าอัลกุรอานภาษาอาหรับเป็นทั้งวิ อ่านเพิ่มเติม
อักษรอารบิกเขียนว่า อัลลอฮ์

ศาสนาคริสต์

ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ (อังกฤษChristianityราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรแตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิ อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศาสนาคริสต์

ชาวพุทธตัวอย่าง

ชาวพุทธตัวอย่าง
พุทธศาสนิกชนตัวอย่างที่ควรรู้จัก คือ
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) ยูเนสโก ยกย่อง ท่านพุทธทาส ว่าเป็น 1 ใน 64 บุคคลสำคัญของโลก มีผลงานดีเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 
ปณิธานแห่งชีวิต ท่านเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนก็คือเพื่อน ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันหมดทั้สิ้น และหัวใจของทุกศาสนาก็เหมือนกันหมด คือ ต้องการให้คนพ้นจากความทุกข์ ท่านจึงตั้งปณิธานไว้ 3 ข้อ คือ
ศาสนิกชน หรือศาสนิกแห่งศาสนาใดก็ตาม เข้าถึงความหมายอันลึกซึ้งที่สุดแห่ง อ่านเพิ่มเติมผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

พุทธสาวกและพุทธสาวิกา

 พุทธสาวกและพุทธสาวิกา
พระอัญญาโกณฑัญญะ 
            พระประวัติ พระอัญญาโกณฑัญญะ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ เป็นบุตรของพราหมณ์ในหมู่บ้านโฑณวัตถุ ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์ จบการศึกษาด้านไตรเพทในคัมภีร์พรามหณ์ ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการทำนาลักษณะ ท่านเป็นหนึ่งในจำนวนพราหมณ์ คน ที่พระเจ้าสุทโธทนะเชิญมาทำนายลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อคราวประสูติได้5วันและท่านได้ทำนายด้วยความเชื่อมั่นว่าพระกุมารจักออกบวชและสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ท่านมีความเชื่อมั่นว่าพระสิทธัตถะจักสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน จึงได้ชวนพราหมณ์อีก คน ประกอบด้วย วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ออกบวชตาม และเฝ้าปฏิบัติอยู่ด้วยหวังว่าเมื่อพระสิทธัตถะบ อ่านเพิ่มเติม